ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์....www.jeelanda.blogspot.com
สวัสดีค่ะ....ยินดีตอนรับเข้าสู่www.jeelanda.blogspot.com เว็บไซต์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานรูปภาพ,แฟ้มสะสมผลงาน ,ตัวอย่างแผนการสอน และกิจกรรมที่ทำยามว่าง เว็บไซต์นี้น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และข้อมูลต่างๆ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่มีสาระน่ารู้มากมายค่ะ

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


ภาระงานที่ 2 : การเขียนผังงาน (flowchart design)

                จากการวิเคราะห์เนื้อหาในภาระงานที่ 1 ขั้นตอนต่อไปเป็นการเขียนผังงาน เพื่อแสดงขั้นตอน    การทำงานของโปรแกรมบทเรียนการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งควรนำผังงานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมในการนำเสนอบทเรียน จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่อไป



            ชื่อนักศึกษา    นางสาวจีลันดา   โวหาร     สาขาวิชา ภาษาไทย     รหัส ๕๓๑๘๑๐๑๐๑๑๐
    ภาระงานที่ 1 : การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (content analysis)

เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียนที่วิเคราะห์จากแผนการสอนที่ได้จัดทำไว้แล้ว โดยแยกเป็นการกำหนดหัวข้อเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ หรือสไลด์ในการนำเสนอ สามารถออกแบบได้ดังตารางดังนี้

   ชื่อบทเรียน : มาตราตัวสะกด แม่ กน
หัวข้อเนื้อหา/วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา
หัวข้อเนื้อหา
  สาระที่ ๑  ความหมายของมาตราตัวสด แม่ กน




  สาระที่ ๒  การอ่านออกเสียง/การเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กน


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
  1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
 เรื่อง มาตราตัวสะกด  แม่  "กน"
 2.  เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
 3.เพื่อซ่อมเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน



 แม่ กน เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่ กน สะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง สะกด พยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดในมาตราแม่ กน   ได้แก่              

- แม่ กน เมื่อสะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง สะกด และจะเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วย
แม่ กน ได้ ดังนี้  งอ-อา-นอ = งาน เป็นต้น



ในขั้นตอนนี้อาจเพิ่มหน่วยการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น เช่น การวิเคราะห์ผู้เรียนและการกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องมีก่อนเรียน เช่น มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

สรุปคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


สรุปการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
               คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาในปัจจุบันมีหลายประเภทตามความเหมาะสมของผู้ออกแบบ โดยอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การออกแบบบทเรียนจะเริ่มจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป บทเรียนซีเอไอสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ บทเรียนหนึ่งอาจมีหลายรูปแบบรวมกันอยู่ก็ได้

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแยกตามโครงสร้างของประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. การสอน/การทบทวน (tutorial instruction) วัตถุประสงค์เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่
แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน
 

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


e-Learning

e-Learning (Electronic learning) 

 E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้  คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT)
online learning (การเรียนทางอินเตอร์เน็ต) เป็นต้น
 ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ 
(Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์
( On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
 ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology)ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร
(Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
(Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (InteractiveTechnology



ประโยชน์ของ e-Learning
ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
        การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
เข้าถึงได้ง่าย
        ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
         เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
        ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม



LMS คืออะไร
          LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
1.            ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม

2.            ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media 


3.            ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ
 โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบอัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน

4.            ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้

5.            ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin


                

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตัวอย่างแผนการสอน



                                                           แผนการจัดการเรียนรู้


กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง มาตราตัวสะกด                                    เวลา ๑๖ ชั่วโมง


เรื่อง แม่ กน                                                                               เวลา ๑ ชั่วโมง


********************************************************************************


มาตรฐานการเรียนรู้ ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง


                                           ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษา


                                           ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ


ตัวชี้วัด


    อ่านสะกดคำและบอกความหมายของคำ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
    การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ
สาระสำคัญ
    แม่ กน เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “น” เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่ กน สะกดกับคำใด
ก็จะอ่านออกเสียง “น” สะกด
จุดประสงค์การเรียนรู้


    ๑. สามารถอ่านสะกดคำและบอกความหมายของคำได้ (K)


     ๒. มีทักษะการปฏิบัติงาน (P)


    ๓. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)


เนื้อหาสาระ
    แม่ กน
สมรรถนะของผู้เรียน


    ๑.ความสามารถในการสื่อสาร
    ๒. ความสามารถในการคิด
    ๓. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต


คุณลักษณะอันพึงประสงค์


    ๑. มีวินัย
    ๒.ใฝ่เรียนรู้
    ๓. มุ่งมั่นในการทำงาน


กระบวนการจัดการเรียนรู้


    ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
    ๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่อง แม่ กน
    ๒. ทบทวนความรู้เดิม


             -ให้นักเรียนลองเขียนสะกดคำที่สะกดด้วยแม่ กน ด้วยความเข้าใจของนักเรียนเองแล้วอธิบายความรู้เกี่ยวกับตัวสะกดแม่ กน ให้ผู้เรียนฟังอีกครั้ง
    
     ๓. วิดีทัศน์
           -เกี่ยวกับมาตราตัวสะกดแม่ กน และให้นักเรียนอ่านแจกลูกและพูดตาม
           -เช่น งาน นาน ปืน เดือน ดิน เขียน


    ขั้นสอน
     ๑. อธิบายว่าแม่ กน เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “น” เป็นตัวสะกด และเมื่อ แม่ กน สะกด
กับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “น” สะกด เช่น เรียน ต้น ก้น ตน นาน เป็นต้น
     ๒. สอบถามนักเรียนว่า “นอกจากคำที่ครูยกตัวอย่างไป นักเรียนคิดว่ามีคำใดอีกบ้าง
ที่อยู่ในแม่ กน”
     ๓. ครูเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กน แล้วอ่านแจกลูกให้นักเรียนอ่านตาม ดังนี้


                                              งอ + อา + นอ = งาน


                                               นอ + อา + นอ = นาน


                                               ตอ + อา + นอ = ตาน


                                               ยอ + อา + นอ = ยาน


                                               คอ + อา + นอ = คาน


    ๔. นักเรียนทุกคนอ่านคำพร้อมกัน
    ๕. ครูแจกชุดการเรียนรู้ ชุด ๑ เรื่อง แม่ กน ให้นักเรียนคนละ ๑ ชุด และอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมให้นักเรียนฟังจนเข้าใจ
    ๖. นักเรียนศึกษาจากวีดิทัศน์และบัตรคำพร้อมทั้งทำกิจกรรมในแบบฝึกหัดที่ ๑
    ๗. เมื่อเสร็จกิจกรรมแล้วให้จับคู่เปลี่ยนกันตรวจ
    ๘. สอบถามนักเรียนว่ามีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจ และต้องการรู้เพิ่มเติมให้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูอธิบายสิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจหรือสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ให้นักเรียนฟังเพิ่มเติม


ขั้นสรุป
    ๑. สุ่มนักเรียน ๔-๕ คน สรุปตามความรู้ความเข้าใจในเรื่อง แม่ กน
    ๒. ครูและนักเรียนสรุปความรู้ เรื่อง แม่ กน โดยครูช่วยอธิบายให้นักเรียนเข้าใจตรงกัน ดังนี้
                  - แม่ กน เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ “น” เป็นตัวสะก
                  - แม่ กน สะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง “น” สะกด งาน นาน เดือน
                  - การอ่านและบอกความหมาย เช่น
                          จอ + อา + นอ = จาน หมายถึง ภาชนะที่ใช้ใส่ของ


สื่อและแหล่งการเรียนรู้


    ๑. ชุดการเรียนรู้ เรื่อง แม่ กน
      ๑.๑ สื่อวิดีทัศน์มาตราตัวสะกด แม่ กน และบัตรคำ
      ๑.๒ ชุดการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่อง แม่ กน
      ๑.๓ แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แม่ กน
      ๑.๔ แบบฝึกหัดที่ ๑
      ๑.๕ แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง แม่ กน


กระบวนการวัดผลประเมินผล


    ๑.วิธีการวัดผลและประเมินผล
      ๑.๑ ด้านความรู้
      ๑.๑.๑ สังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วยแม่ กน
      ๑.๑.๒ ตรวจผลงานการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กน
      ๑.๑.๓ ตรวจการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กน
      ๑.๒ ด้านทักษะ
      ๑.๒.๑ ทักษะทางวิชาการ
       ๑.๒.๒ ทักษะสังคม
       ๑.๓ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
       ๑.๓.๑ มีวินัย
       ๑.๓.๒ ใฝ่เรียนรู้
       ๑.๓.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน


   ๒. เครื่องมือวัดและประเมินผล
       ๒.๑ แบบสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กน
       ๒.๒ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง แม่ กน
      ๒.๓ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
       ๒.๓ แบบทักษะการปฏิบัติงาน


   ๓. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
        ๓.๑ ด้านความรู้
        ๓.๑.๑ การประเมินผลสังเกตการอ่านแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กน เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ ๗๐
       ๓.๑.๒ คะแนนจากการทำแบบฝึกหัด เรื่อง แม่ กน เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ ๗๐
       ๓.๑.๓ คะแนนจากแบบทดสอบหลังเรียนเรื่อง แม่ กน เกณฑ์ผ่าน ร้อยละ ๗๐
       ๓.๒ ด้านทักษะ
       ๓.๒.๑ ทักษะทางวิชาการ ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป
       ๓.๒.๒ ทักษะสังคม ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป
       ๓.๓ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
        ๓.๓.๑ มีวินัย ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป
       ๓.๓.๒ ใฝ่เรียนรู้ ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป
       ๓.๓.๓ มุ่งมั่นในการทำงาน ได้ระดับคุณภาพ ๒ ขึ้นไป


   หมายเหตุ :ระดับคุณภาพของแบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะและด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์


                    กำหนดระดับคุณภาพ ๓ = ดีมาก ๒ = ดี ๑ = ปรับปรุง

ประวัติส่วนตัว



       


นางสาวจีลันดา    โวหาร   ชื่อเล่น แนน  อายุ  21  ปี
เกิดวันที่ 24    เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.2534  เบอร์โทรศัพท์   086-1986106
คติประจำใจ :   ก้าวต่อไปอย่าได้หยุด ไปให้สุด  อย่าหยุดฝัน
จบจาก: โรงเรียนแม่เมาะวิทยา
สีที่ชอบ: สีฟ้า , สีขาว , สีเขียว
ตุ๊กตาที่ชอบ: หมีพู, มิ้กกี้เมาส์