ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์....www.jeelanda.blogspot.com
สวัสดีค่ะ....ยินดีตอนรับเข้าสู่www.jeelanda.blogspot.com เว็บไซต์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานรูปภาพ,แฟ้มสะสมผลงาน ,ตัวอย่างแผนการสอน และกิจกรรมที่ทำยามว่าง เว็บไซต์นี้น่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และข้อมูลต่างๆ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมเว็บไซต์ที่มีสาระน่ารู้มากมายค่ะ

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555


ภาระงานที่ 2 : การเขียนผังงาน (flowchart design)

                จากการวิเคราะห์เนื้อหาในภาระงานที่ 1 ขั้นตอนต่อไปเป็นการเขียนผังงาน เพื่อแสดงขั้นตอน    การทำงานของโปรแกรมบทเรียนการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งควรนำผังงานไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสมในการนำเสนอบทเรียน จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญต่อไป



            ชื่อนักศึกษา    นางสาวจีลันดา   โวหาร     สาขาวิชา ภาษาไทย     รหัส ๕๓๑๘๑๐๑๐๑๑๐
    ภาระงานที่ 1 : การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (content analysis)

เป็นขั้นตอนในการกำหนดขอบเขตของเนื้อหา และกำหนดชื่อบทเรียนที่วิเคราะห์จากแผนการสอนที่ได้จัดทำไว้แล้ว โดยแยกเป็นการกำหนดหัวข้อเนื้อหาและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงระบุรายละเอียดของเนื้อหาที่จะแสดงในหน้าเว็บเพจ หรือสไลด์ในการนำเสนอ สามารถออกแบบได้ดังตารางดังนี้

   ชื่อบทเรียน : มาตราตัวสะกด แม่ กน
หัวข้อเนื้อหา/วัตถุประสงค์การเรียนรู้
รายละเอียดของเนื้อหา
หัวข้อเนื้อหา
  สาระที่ ๑  ความหมายของมาตราตัวสด แม่ กน




  สาระที่ ๒  การอ่านออกเสียง/การเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วย แม่ กน


วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
  1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ
 เรื่อง มาตราตัวสะกด  แม่  "กน"
 2.  เพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
 3.เพื่อซ่อมเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน



 แม่ กน เป็นมาตราตัวสะกดที่ใช้ เป็นตัวสะกด และเมื่อแม่ กน สะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง สะกด พยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดในมาตราแม่ กน   ได้แก่              

- แม่ กน เมื่อสะกดกับคำใดก็จะอ่านออกเสียง สะกด และจะเขียนแจกลูกคำที่สะกดด้วย
แม่ กน ได้ ดังนี้  งอ-อา-นอ = งาน เป็นต้น



ในขั้นตอนนี้อาจเพิ่มหน่วยการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น เช่น การวิเคราะห์ผู้เรียนและการกำหนดพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องมีก่อนเรียน เช่น มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

สรุปคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


สรุปการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
               คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้กันอยู่ในวงการศึกษาในปัจจุบันมีหลายประเภทตามความเหมาะสมของผู้ออกแบบ โดยอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การออกแบบบทเรียนจะเริ่มจากการให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียน ประเมินการตอบสนองของผู้เรียนให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการเสริมแรงและให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าลำดับต่อไป บทเรียนซีเอไอสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ บทเรียนหนึ่งอาจมีหลายรูปแบบรวมกันอยู่ก็ได้

การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแยกตามโครงสร้างของประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1. การสอน/การทบทวน (tutorial instruction) วัตถุประสงค์เพื่อการสอนเนื้อหาใหม่
แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน